การอ่านหนังสือธรรมะ อันเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น มีคำศัพท์ที่ยาก ๆ อยู่มากมาย ที่ผู้เพิ่งศึกษาธรรมะอ่านเจอแล้ว มักจะงงหรือไม่เข้าใจ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือเข้าใจผิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เฉพาะบางคำที่มักเข้าใจผิด โดยนำไปปนกับความหมายปัจจุบันของภาษาไทย
ทั่วไป) อารมณ์ หมายถึง ความรู้สึก เช่น อารมณ์ไม่ดี อารมณ์เสีย ไม่มีอารมณ์ ธรรมะ) อารมณ์ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบกับประสาทสัมผัสทั้งหกของเรา เช่น
รูป แสง สี เสียง รส กลิ่น ความรู้สึกต่าง ๆ
- ตาเห็นรูปอะไรก็ตาม รูปนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
- หูได้ยินเสียงอะไรก็ตาม เสียงนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
- จมูกได้กลิ่นอะไรก็ตาม กลิ่นนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
- ลิ้นได้ลิ้มรสอะไรก็ตาม รสนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
- กายของเรา(หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเช่นมือ) ถูกต้องสัมผัสกับสิ่งของอะไรก็ตาม สิ่งของนั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
- ใจของเรารับรู้ถึงความรู้สึกอะไรก็ตาม (เช่น ดีใจ เสียใจ เบื่อ สนุก ฯลฯ) ความรับรู้นั้น ๆ จัดเป็นอารมณ์
ทั่วไป) เวทนา (เวดทะนา) หมายถึง สลดใจ สงสาร เช่น น่าเวทนา ธรรมะ) เวทนา (เวทะนา) หมายถึง ความรู้สึก เวทนาทางกาย เช่น รู้สึกร้อน หนาว เจ็บ
คัน แสบ ฯลฯ เวทนาทางใจ เช่น สบายใจหรือสุข ไม่สบายใจหรือทุกข์ และ เฉย ๆ
ทั่วไป) สัญญา หมายถึง การนัดหมาย การตกลงกันระหว่างสองฝ่าย เช่น ไม่รักษาสัญญา
ผิดสัญญา
ธรรมะ) สัญญา หมายถึง ความจำได้ เช่น เห็นโทรทัศน์ รู้ว่าคือโทรทัศน์ ..
รู้ว่านี่เรียกว่าเค็ม นี่เรียกว่า ร้อน ฯลฯ
ทั่วไป) สังขาร หมายถึง ร่างกาย เช่น ละสังขาร ไม่เจียมสังขาร ธรรมะ) สังขาร หมายถึง ความคิด ความนึกคิด ความตรึกตรอง การจินตนาการ
คิดดีคือสังขารดี คิดชั่ว คือสังขารชั่ว คิดมากคือสังขารมาก คนมีความคิด
สร้างสรรค์ คือคนเก่งทางสังขารนั่นเอง
ทั่วไป) วิญญาณ หมายถึง ร่างกายของผู้ที่ตายไปแล้วแต่ยังไม่ไปเกิดใหม่ ร่างกายผี
ธรรมะ) วิญญาณ หมายถึง ความรับรู้ ความรู้อารมณ์ เช่น
- ประสาทตาสัมผัสกับรูป เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า เห็น)
- ประสาทหูสัมผัสกับเสียง เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า ได้ยิน)
- ประสาทจมูกสัมผัสกับกลิ่น เกิดความรับรู้ (ที่เรียกว่า ได้กลิ่น)
- ประสาทลิ้นสัมผัสกับรส เกิดความรับรู้ (ที่เรียกว่า รู้รส)
- ประสาทกายสัมผัสกับวัตถุสิ่งของ เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า ถูกต้องสัมผัส)
- ประสาทใจสัมผัสกับอารมณ์ละเอียด (ธรรมารมณ์) เกิดความรับรู้ (ที่เราเรียกว่า รู้สึก) เช่น รัก เกลียด เบื่อ เศร้า ขำ รังเกียจ อาย โกรธ อยาก...ฯลฯ
ความรู้ทั้งหมดนี้แล เป็นวิญญาณ
ทั่วไป) ทุกข์ หมายถึง ความจน ไม่มีเงิน(จริง ๆ ต้องเขียนว่า ทุคต์), ความลำบากกาย
ลำบากใจ
ธรรมะ) ทุกข์ หมายถึง ความบีบเค้น ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ความลำบากกาย
ลำบากใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
ทั่วไป) อธิษฐาน หมายถึง การตั้งจิตปรารถนา การปรารถนาในใจ (ความหมายนี้
ที่ถูกต้องจริง ๆ คือ ปรารถนา)
ธรรมะ) อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจ การเล็งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ เช่น
ตั้งใจว่าวันนี้จะไม่กิน ข้าวเย็น ตั้งเป้าไว้ว่าชาตินี้จะเป็นครู
ทั่วไป) อิจฉา หมายถึง ความริษยา (ความหมายนี้ ที่ถูกต้องจริง ๆ คือ อิสสา หรือริษยา) ธรรมะ) อิจฉา หมายถึง ความมุ่งหวัง ความต้องการ
ทั่วไป) มานะ หมายถึง ความบากบั่น เช่น มานะพยายาม มุมานะ ธรรมะ) มานะ หมายถึง ความถือตัว การเปรียบเทียบตนกับผู้อื่น ว่าตัวเองเหนือกว่า
หรือด้อยกว่า หรือเสมอผู้อื่น เช่น ขัตติยมานะ(มานะว่าตนเป็นกษัตริย์
หรือถือตัวว่าตนเป็นกษัตริย์ จึงไม่ ยอมลดตัวลงไปสนิทชิดเชื้อกับสามัญชน)
ถือตัวว่าตัวเองเก่งจึงดูถูกคนอื่น
ทั่วไป) โมโห หมายถึง โกรธ ธรรมะ) โมโห เป็นชื่อกิเลส หมายถึง ความหลง ความไม่รู้บาป บุญ คุณ โทษ
ทั่วไป) อันธพาล หมายถึง คนไม่ดี คนเลว คนที่ชอบหาเรื่องผู้อื่น คนที่ชอบรังแกผู้อื่น
ธรรมะ) อันธพาล หมายถึง โง่มาก ๆ โง่เหมือนคนตาบอด (ในเรื่องความเข้าใจบาป บุญ
คุณ โทษ) เช่น วลีว่า ความรักทำให้คนตาบอด คำว่าตาบอดนี่แหละ
คือความหมายของคำ อันธพาล
ทั่วไป) เวร หมายถึง ภาระหน้าที่ เช่นอยู่เวร เข้าเวร, เป็นคำด่า เช่น ไอ้เวร ก็มี ธรรมะ) เวร หมายถึง การผูกใจแค้น การผูกใจว่าจะเอาคืน การแก้แค้น เช่น
เมื่อถูกด่าแล้วด่าตอบ เมื่อถูกผู้อื่นทำร้ายลูกของตน ก็ผูกใจแค้นว่า
จะต้องตามแก้แค้น ตามล้างแค้น
ทั่วไป) อุปาทาน หมายถึง คิดไปเอง รู้สึกไปเอง ธรรมะ) อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่น ถือมั่น เช่น ร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา ก็ยึดถือว่า
เป็นของเรา, ภาพที่มองเห็น ความจริงเป็นเพียงแสงสี สัมผัสกับประสาทตาแล้ว
เกิดความรับรู้ขึ้น เท่านั้น ก็หลงไปยึดถือ หอบอุ้มภาพนั้นเอาไว้ ทำให้ใจเรา
เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เพราะตัวอุปาทานหอบยึดเอาไว้ เหมือนคนบ้าบอ
ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเศษขยะ เดินไปตามทาง เห็นผ้าขี้ริ้วก็เก็บมาถือไว้ เห็นร้องเท้าขาด
หนึ่งข้าง ก็เก็บเอาไว้ เห็นเปลือกกล้วยก็เก็บเอาไว้ เก็บทุกอย่างที่ขวางหน้า มาถือ
แบก หอบ พะรุงพะรังเต็มไปหมด จะทิ้งก็เสียดาย ตัวอุปาทานก็เหมือนกับคนบ้าบอ
นั่นแหละ อารมณ์ที่มากระทบทุกอย่างเก็บเรียบ
|